top of page
Writer's picturepmtwmocgoth

อัตราบริการภาคการขนส่งและบริการดิจิทัล สนับสนุนการฟื้นตัวของภาคบริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564


การค้าบริการทั่วโลกขยายตัวขึ้น 25% (YoY) ในไตรมาสที่ 3/2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากบริการ ด้านธุรกิจ คอมพิวเตอร์ บริการด้านการเงิน และบริการขนส่ง จากอัตราค่าบริการขนส่งปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การค้าบริการยังมีมูลค่าต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ประมาณ 5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2562 ที่มูลค่าการค้าบริการสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ การกระจายวัคซีนที่ยังไม่ทั่วถึง การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์ใหม่ และการปิดพรมแดนยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางระหว่างประเทศ


การค้าบริการ

Average of exports and imports.

Source: WTO-UNCTAD-ITC estimates.


การค้าบริการในไตรมาสที่ 3 ขยายตัว 24% สอดคล้องกับแนวโน้มของการค้าสินค้าในช่วงเวลาเดียวกัน โดยบริการขนส่งทั่วโลกขยายตัว 45% (YoY) เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัว 12% (YoY) เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ แนวโน้มการใช้บริการที่อาศัยการพบปะลดลง และมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ปัญหาคอขวดและความแออัดในท่าเรือขนส่งสินค้า ภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และความล่าช้าในการขนส่ง ส่งผลให้อัตราบริการขนส่งสูงขึ้นอย่างมากในไตรมาส 3/2564 โดยการส่งออกภาคบริการขนส่งของภูมิภาคเอเชียขยายตัว 71% (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อน และ 46% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2562


อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของบริการขนส่งทางอากาศยังคงจำกัดและมีมูลค่าต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์ โควิด-19 เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ โดยแม้ว่าการใช้จ่ายของผู้เดินทางระหว่างประเทศ สูงขึ้น 54% (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อนจากปัจจัยฐานต่ำ แต่การใช้จ่ายยังคงต่ำกว่ามูลค่าก่อนเกิดโรคระบาดในช่วงไตรมาส 3/2562 ถึง 52% เมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า ภูมิภาคยุโรปมีสัญญาณฟื้นตัวมากที่สุดโดยมีมูลค่าการใช้จ่ายลดลงจากช่วงก่อนโควิด-19 เพียง 32% เนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการเดินทางในช่วงฤดูร้อนและ การใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทาง ขณะที่ ภูมิภาคเอเชีย มูลค่าการส่งออก

การท่องเที่ยวยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดถึง 81% เนื่องจากหลายประเทศยังคงมาตรการปิดประเทศ โดยพบว่ามูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในกัมพูชาซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกการท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ลดลงถึง 97% ทั้งนี้ การประมาณการเบื้องต้นระบุว่าการส่งออกการท่องเที่ยว ของกลุ่มประเทศ LDC ในครึ่งปีแรกของปี 2564 ลดลง 67% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562


ภาคบริการย่อยอื่น ๆ

ในช่วงมกราคม-กันยายน พ.ศ. 2564 การส่งออกบริการธุรกิจคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันในปี 2562 ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (29%) มอริเชียส (42%) ไอร์แลนด์ (51%) ยูเครน (63%) และบังกลาเทศ (68%) โดยการทำงาน การศึกษา และความบันเทิงทางไกล รวมถึงอีคอมเมิร์ซ ทำให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) ประมาณการณ์ว่าอัตราการส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศขยายตัว 30% ในปี 2564 อย่างไรก็ดี มูลค่าบริการโทรคมนาคมลดลง 4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สะท้อนจากราคาตลาดโลก ลดลง โดยเฉพาะบริการสื่อสารคมนาคมแบบชุดบริการ (Bundled communication services)


ในทางกลับกัน การก่อสร้างยังเป็นหนึ่งในสาขาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มากที่สุด โดยในปี 2563 การส่งออกทั่วโลกลดลง 18% และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกบริการก่อสร้างทั่วโลกลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีพ.ศ. 2562 นอกจากนี้ การส่งออกของสหภาพยุโรปและจีนซึ่งเป็นผู้นำตลาดรายใหญ่นั้น ลดลง 19% และ 4% จากปี 2562 โดยเป็นผลจากความล่าช้าหรือการยกเลิกโครงการก่อสร้าง เพราะต้นทุนการผลิต (เช่น เหล็ก) ที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และขาดแคลนแรงงาน


ข้อมูลล่าสุดระบุว่ามูลค่าการส่งออกบริการของประเทศต่าง ๆ ในเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2564 ยังหดตัวในหลายประเทศเมื่อเทียบกับมูลค่าในปี 2562 โดยลดลงในออสเตรเลียมากที่สุด 35% ขณะที่การส่งออกบริการจากจีน และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 37% และ 12% (ตามลำดับ) นำโดยบริการขนส่ง และการส่งออกจากปากีสถานและอินเดียขยายตัวจากบริการคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ การส่งออกภาคบริการทั่วยุโรปนั้นมีแนวโน้มแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่


สถานการณ์ภาคธุรกิจบริการในประเทศไทย

ภาคบริการของไทยมีแนวโน้มเติบโตทั้งในเชิงมูลค่าและสัดส่วนภาคบริการในเศรษฐกิจไทย ผลจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคบริการมากขึ้น เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดผู้ป่วย และบริการการแพทย์ทางไกล ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้นวัตกรรมการบริการเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น การออกแบบและการให้คำปรึกษาโดยใช้ AI และการใช้ Big Data เพื่อปรับกลยุทธ์และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายการลงทุนของต่างชาติในภาคบริการ จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนภารบริการให้เติบโตและส่งเสริมการผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยภาคบริการต่อไปในอนาคต


Source:

100 views0 comments

Comments


bottom of page