top of page
Writer's picturepmtwmocgoth

องค์กรระหว่างประเทศหารือถึงวิธีปรับปรุงการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิดและปรับปรุงมาตรการรับมือต่าง ๆ


เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กลุ่มธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก และองค์การการค้าโลก เข้าพบและหารือในระดับสูงกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวี (GAVI) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 และมาตรการทางการแพทย์ที่สำคัญอื่น ๆ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low Income Countries: LICs) และรายได้ปานกลางถึงต่ำ (Low-to-Medium Income Countries: LMICs) ตลอดจนช่วยให้ประเทศต่าง ๆ มีความพร้อมที่จะเข้าถึงและ มีการแจกจ่ายวัคซีนได้ดีขึ้น


ในปัจจุบันนั้น ประชาชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (LICs) มีเพียง 5% เท่านั้น ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส และใน ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ (LMICs) นั้น ก็มีเพียงประมาณ 30% ที่ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในระดับนานาชาติ และบรรลุเป้าหมายระดับโลกในการฉีดวัคซีนให้ได้ถึง 70% ของประชากรในทุกประเทศภายในกลางปีพ.ศ. ​​2565 COVAX (COVID-19 Vaccines Global Access) และ AVAT (African Vaccine Acquisition Trust) จึงมีความต้องการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นและจะช่วยแก้ไข การกระจายอย่างไม่ทั่วถึงของวัคซีนในประชากรได้


โดยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้มีการผลักดันให้ ลด/ยกเลิก ข้อจำกัดในการส่งออกและข้อจำกัดทางการค้าและ การส่งออก เพื่อให้ประเทศผู้ส่งออกวัคซีนและเครื่องมือป้องกันโควิดอื่น ๆ สามารถให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม LICs และ LMICs ได้เพิ่มเติม


เพื่อเพิ่มความพร้อมและการเข้าถึงวัคซีนของประเทศในกลุ่ม LICs และ LMICs นั้น WTO เน้นย้ำว่า เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลในประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงแล้ว จะช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ ในประเด็นดังต่อไปนี้:

  • ดำเนินการกระจายการบริจาควัคซีนตามคำมั่นสัญญา เพื่อทำให้ COVAX สามารถรับวัคซีนที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น

  • ให้อิสระผู้ผลิตจากสัญญาในการแลกเปลี่ยนและส่งมอบ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเร่งผลิตวัคซีนให้กับ COVAX, AVAT และประเทศที่มีอัตราการได้รับวัคซีนในระดับต่ำลำดับแรก

นอกจากนี้ยังได้มีการกระตุ้นเตือนไปยังรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำ ให้ปฏิบัติในแนวทางดังต่อไปนี้:

  • สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมทันทีผ่านทาง AVAT หรือ COVAX หรือทั้งสองทางควบคู่กันไป

  • สร้างความพร้อมในการฉีดวัคซีนให้เพิ่มขึ้นในประเทศ เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนได้รวดเร็วขึ้นเมื่อมีการบริจาคเพิ่มขึ้น

  • ประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพและการเงินเพื่อใช้ทรัพยากรของธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพิ่มขึ้น ซึ่งพร้อมสำหรับการซื้อและปรับใช้วัคซีนในอนาคตอันใกล้

มีการคาดการณ์ว่าวัคซีนสำหรับป้องกันโควิด-19 จะมาถึง LICs และ LMICs จากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ทาง WTO ได้แสดงความยินดีที่จะร่วมมือกับ UNICEF WHO และ GAVI ในฐานะของผู้ประสานงานหลักระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งมอบวัคซีนจากประเทศผู้ผลิตวัคซีนต่าง ๆ และเสริมสร้าง ความพร้อมในการแจกจ่ายวัคซีนในประเทศปลายทาง ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการใช้งานวัคซีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก


WTO และบทบาทในการลดผลกระทบจาก COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ

ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 WTO ทำหน้าที่เป็น "จุดศูนย์กลางการดำเนินการ" โดยช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในด้านการตอบสนองนโยบายและลดต้นทุนการทำธุรกรรมของการค้า โดยยังคงเปิดกว้างและอนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันตรวจสอบนโยบาย และสามารถดำเนินนโยบายการค้าแบบทวิภาคีเพื่อให้สิทธิประโยชน์ในการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันได้ นอกจากนี้ กลไกการทบทวนนโยบายการค้าช่วยติดตามนโยบายของสมาชิกโดยรวม ทำให้แน่ใจว่าการระบาดใหญ่ที่กำลังดำเนินอยู่จะไม่ถูกใช้เป็นเหตุผลในการดำเนินการกีดกันทางการค้าหรือมาตรการจำกัดทางการค้า ซึ่งจะฝ่าฝืนพันธกรณีทางการค้าของประเทศต่าง ๆ ที่กำหนดไว้


WTO ยังมีความพยายามในการผลักดันให้เกิดการส่งต่อและการกระจายของวัคซีนจากประเทศผู้ผลิตและประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุม ไปสู่ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ โดยกลุ่มประเทศผู้ผลิตวัคซีนหลักอย่างประเทศในเครือสหภาพยุโรป (European Union: EU) และ ประเทศจีน มีอัตราการส่งออกวัคซีนสูงถึง 1,979.8 ล้านโดส และ 1,698.1 ล้านโดส ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศที่นำเข้าวัคซีนในกลุ่ม LICs และ LMICs นั้นมีอัตราการนำเข้าวัคซีนที่ 290.3 ล้านโดส และ 1,746.7 ล้านโดส ตามลำดับ ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง (Upper Middle Income Countries: UMICs) ที่นำเข้าวัคซีนกว่า 1,982.7 ล้านโดส (ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2565) ทำให้เกิดเป็นความพยายามในการผลักดัน การกระจายของวัคซีนขึ้น


Source:

348 views0 comments

Comments


bottom of page