top of page
Writer's picturepmtwmocgoth

ปรากฎการณ์ Slowbalization ไทยอยู่ตรงไหนและควรทำอย่างไร


1. อัตราการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกโดยเฉลี่ยระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มคงที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือปรากฏการณ์ Slowbalization ดังรูป 1 สะท้อนจากขั้นตอนการผลิตระหว่างการผลิตสินค้า ขั้นปฐมและผู้บริโภคขั้นสุดท้ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8.5 ขั้น ในปี 2019 คงที่จาก 8.5 ในปี 2010 ที่เพิ่มขึ้นจาก 7.9 ในปี 2000 รวมทั้งเครื่องชี้วัดอื่น ๆ สิ่งนี้มีผลกระทบสำหรับประเทศกำลังพัฒนาคือ โอกาสในการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลก เพื่อยกระดับรายได้และเทคโนโลยีของตน อาจมีไม่มากเหมือนก่อน


2. ปรากฎการณ์ภูมิภาคนิยม (Regionalism) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกลดลง เนื่องจากข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคอาจทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทางการค้าเข้ามาภายในภูมิภาคมากขึ้น และทำให้การค้ากับประเทศนอกภูมิภาคมีแนวโน้มลดลง โดย ณ วันที่ 20 มกราคม 2565 มีข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลกอยู่ที่ 353 ข้อตกลง ดังรูป 2 สำหรับ ASEAN+3 มีระดับ integration ภายในภูมิภาคลดลงต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาค ASEAN+3 มีแนวโน้มทำการค้ากับประเทศนอกกลุ่มเป็นหลัก โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาและยุโรป จนกระทั่งถึงช่วงการระบาดของโรคโควิด ทำให้กลุ่มประเทศ ASEAN+3 ทำการค้าภายในกลุ่มมากขึ้น


3. ไทยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกลดลง ระหว่างปี 2010-2019 สะท้อนจากอัตราส่วนของการส่งออกทางอ้อมต่อการส่งออกรวมที่ลดลงจากร้อยละ 48.73 ในปี 2010 มาเป็น 43.09 ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม มูลค่า การส่งออกทางอ้อมของไทยยังขยายตัวได้ ร้อยละ 7.3 ต่อปี ระหว่างปี 2010 – 2019 ลดลงจากร้อยละ 11.7 ต่อปี ระหว่าง 2000-2010 ซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์ Slowbalization และบางประเทศที่มีอัตราการมีส่วนร่วมลดลงเช่นกัน เช่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และอินโดนีเซีย


4. การเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกของไทยตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาช่วยให้ไทยสามารถสร้างรายได้ต่อหัวประชากรที่สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนจากค่า GVC income per capita ของไทยเพิ่มสูงขึ้นจาก 0.25 เป็น 0.58 เท่าของ OECD ถือว่าสูงกว่าหลายประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ หลายประเทศมีระดับ GVC Income per capita เพิ่งสูงขึ้น อาทิ จีนเพิ่มจาก 0.15 เป็น 0.54 เท่าของค่าเฉลี่ย OECD เวียดนามเพิ่มจาก 0.07 เป็น 0.26 เท่าของค่าเฉลี่ย OECD


5. กัมพูชา สปป ลาว และเวียดนาม เป็นสามประเทศที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในโลก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หากไทยไปลงทุนในประเทศเหล่านี้ อาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมของไทยในห่วงโซ่คุณค่าโลกได้ สะท้อนจากมูลค่า (Indirect exports) ที่มีมูลค่าสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกทางอ้อม[1] สูงที่สุดในโลก ระหว่าง 2010-2019 ได้แก่ กัมพูชา (ร้อยละ 17.7) สปป ลาว (ร้อยละ 16.5) เวียดนาม (ร้อยละ 14.3) เนปาล (ร้อยละ 13.1) และมองโกเลีย (ร้อยละ 10.7) ดังรูป 3 ในขณะที่ ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่มีการขยายตัวของการส่งออกทางอ้อมค่อนข้างต่ำ (แต่ยังขยายตัวอยู่) อาทิ จีน (ร้อยละ 4.6) เยอรมนี (ร้อยละ 4.5) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 4.0) และเนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 5.7) ซึ่งถือเป็น 4 ใน 5 ประเทศที่มีมูลค่าการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกสูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะจีน มีอัตราการขยายตัวลดลงจากร้อยละ 20 ในปี 2010 เป็นร้อยละ 4.6 ในปี 2019 สะท้อนถึงว่าจีนมีการพึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีของตัวเองในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย รวมทั้งเมื่อผลิตแล้ว ยังนำขายในประเทศมากขึ้น


รูป 1



รูป 2


รูป 3



รูป 4



ที่มา: Global Value Chain Report 2021

 

[1] การส่งออกทางอ้อมคือมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศต้นทาง หักด้วยมูลค่าการส่งออกมูลค่าเพิ่มที่สร้างในประเทศต้นทางไปสู่ผู้บริโภคสินค้าขั้นสุดท้ายที่ประเทศปลายทาง โดยไม่มีการส่งต่อไปยังประเทศที่สาม

179 views0 comments

Comments


bottom of page