top of page
Writer's picturepmtwmocgoth

นวัตกรรมขาเทียมที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าของพาราลิมปิกไปในทางบวก


โตเกียวพาราลิมปิกเกมส์ 2020 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม – 5 กันยายน 2564 มีนักกีฬาคนพิการ 4,400 คนเข้าร่วมการแข่งขันในกีฬา 22 ประเภท โดยอวัยวะเทียมเพื่อใช้ในการกีฬาที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยและ ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักกีฬาสามารถดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้อย่างเต็มที่ นักกีฬาพาราลิมปิกเพิ่งเริ่มมีอวัยวะเทียมที่ออกแบบสำหรับเล่นกีฬาโดยเฉพาะในช่วงประมาณทศวรรษ ที่ 1980 โดยก่อนหน้านั้นนักกีฬาคนพิการยังต้องใช้อวัยวะเทียมที่ใส่ในชีวิตประจำวันสำหรับการแข่งขันกีฬา อุปกรณ์ขาเทียมทั่วไปในยุคก่อนไม่สามารถงอได้ง่าย ๆ เหมือนกับขาธรรมชาติหรือขาเทียมสำหรับเล่นกีฬาในปัจจุบัน ทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬาบางประเภท การคิดค้นขาเทียมสำหรับเล่นกีฬาจึงเป็นสิ่งที่นำมาซึ่ง ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อการแข่งขันกีฬาคนพิการ


ขาเทียมสำหรับเล่นกีฬาช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวงกว้างขึ้น

บริษัท Ottobock ของเยอรมนีเป็นหนึ่งในบริษัทตัวอย่างด้านการผลิตอุปกรณ์กีฬาเทียม โดยได้เริ่มจัดทำขาเทียมมานานกว่าศตวรรษ และเริ่มผลิตอุปกรณ์กีฬาเทียมและเก้าอี้รถเข็นให้กับนักกีฬาพาราลิมปิกมานานกว่า 30 ปี คิดค้นชิ้นส่วนอวัยวะเทียมมากว่าครึ่งศตวรรษ โดยจุดเริ่มต้นของบริษัทมาจากการผลิตแขนขาไม้สำหรับทหารที่ ได้รับบาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนกระทั่งได้พัฒนามาสู่เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ขาเทียมที่ควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ปัจจุบัน Ottobock เป็นเจ้าของสิทธิบัตร 1,886 ฉบับใน 540 ตระกูลสิทธิบัตร รวมถึงสิทธิบัตรจำนวนมากเกี่ยวกับนวัตกรรมสำหรับการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก อาทิ เท้าเทียม 1E95 สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลและวอลเลย์บอล โดยมีโครงสร้างเรียบง่ายที่ช่วยให้สามารถเดิน วิ่งหรือเปลี่ยนทิศทางกระทันหันเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Ottobock ยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตร 1E91 Runner สำหรับนักวิ่งระยะสั้นและนักกระโดดไกลที่นักกีฬาพาราลิมปิกระดับตำนานหลายคนเคยสวมใส่ นอกจากนี้ Ottobock ยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสำหรับข้อเข่ากีฬาเครื่องกลฉบับแรกของโลกด้วย


นวัตกรรมอวัยวะเทียมในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการเสวนาในหัวข้อ “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกฝีมือคนไทย” เพื่อพูดคุยถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมอวัยวะเทียม และโอกาสที่นวัตกรรมดังกล่าวจะเข้ามา ช่วยเหลือผู้พิการในประเทศไทย และต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวออกสู่ระดับสากล (อ้างอิง: https://www.chula.ac.th/news/45469/)


ประเด็นสำคัญที่ถูกพูดคุยการเสวนา ได้แก่ ความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมอวัยวะเทียมทั้งมิติด้าน การแพทย์ สังคม และโอกาสทางธุรกิจ การติดตามความคืบหน้าของนวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกที่ดำเนินงานโดยบุคคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่าย โดยการพัฒนานวัตกรรมอวัยวะเทียมนั้น ไม่เพียงตอบสนองต่อความต้องการของผู้ทุพพลภาพในการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างโอกาสในระดับสากลทั้งในการแข่งขันกีฬาระดับพาราลิมปิก และการพัฒนาเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญได้อีกด้วย และยิ่งเทคโนโลยีในการผลิตอวัยวะเทียม ทั้งการพิมพ์วัตถุ 3 มิติ รวมไปถึงระบบกึ่งอัตโนมัติของอวัยวะเทียมพัฒนาไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้น


Source:


1,187 views0 comments

Comments


bottom of page