top of page
Writer's picturepmtwmocgoth

ดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปี 2562 จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intercultural Property Organization: WIPO) ร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ INSEAD ได้จัดทำรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index: GII) ประจำปี 2562 ภายใต้หัวข้อ Creating Healthy Lives – The Future of Medical Innovation โดยได้ทำการสำรวจความก้าวหน้าในด้านนวัตกรรมของประเทศต่างๆ จำนวน 129 ประเทศ


ประเทศที่ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่หนึ่งด้านนวัตกรรมของโลก คือ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งครองแชมป์อันดับหนึ่งติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2554 นอกจากนี้ ในบรรดาประเทศที่ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูงสุด 10 ประเทศแรกของโลกล้วนแล้วแต่เป็นประเทศตะวันตก เช่น สวิตเซอร์แลนด์ (อันดับที่ 1) สวีเดน (อันดับที่ 2)สหรัฐอเมริกา (อันดับที่ 3) เนเธอร์แลนด์ (อันดับที่ 4) สหราชอาณาจักร (อันดับที่ 5) เป็นต้น โดยมีประเทศเอเชียเพียงประเทศเดียวที่ติดอับดับ 8 คือ สิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 43 (อันดับดีขึ้นกว่าปี 2561 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 44) ซึ่งหากพิจารณาผลการจัดอันดับตัวชี้วัดด้านนวัตกรรมรายตัวชี้วัดจะพบว่า ไทยมีตัวชี้วัดที่โดดเด่น เช่น การส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ (Creative Goods Exports) (อันดับที่ 1) ค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนาซึ่งลงทุนโดยองค์กรธุรกิจต่างๆ (GERD financed by Business) (อันดับที่ 4) และการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง (Domestic Credit to Private Sector) (อันดับที่ 8) ส่วนตัวชี้วัดฯ ที่ไทยยังมีข้อด้อย เช่น การนำเข้าบริการด้าน ICT (อันดับที่ 123) ค่าใช้จ่ายในการปลดหรือไล่ออกจากงาน/เงินเดือนรายสัปดาห์ (Cost of redundancy dismissal, salary weeks) (อันดับที่ 120) การส่งออกบริการด้าน ICT (อันดับที่ 119)


รายงานดัชนีนวัตกรรมโลกเป็นรายงานหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศในการส่งเสริมและพัฒนาด้านนวัตกรรม ตลอดจนทำให้ทราบถึงแผนงานการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งนวัตกรรมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งระดับประเทศ ภูมิภาคและโลก จากรายงานดังกล่าวที่ผ่านมา ไทยมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยจุดแข็งที่ไทยควรเน้นในการพัฒนาให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น การส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา การนำเข้าสินค้าสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประสานความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนาระบบนวัตกรรมของไทยให้มีประสิทธิภาพและเทียมเท่าประเทศเพื่อนบ้าน



นวรัตน์ ผู้รายงาน

132 views0 comments

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page