เพราะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) มีความสามารถในการแข่งขันทางการค้าหรือมีศักยภาพในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ WTO น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยข้อจำกัดของสภาพทางเศรษฐกิจ สถานะทางการเงิน และศักยภาพทางการค้าระหว่างประเทศ ในพื้นที่ การเจรจาการค้า หากประเทศกำลังพัฒนา (ซึ่งรวมถึง LDCs) ไม่ได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เท่ากับว่า ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา มีสถานะในการเจรจาเท่าเทียมกัน และประเทศกำลังพัฒนาจะไม่มีแต้มต่อในการเจรจาการค้าอีกต่อไป
การหารือเรื่องนี้เริ่มขึ้นในการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2544 (การเจรจารอบโดฮา) โดยมีวัตถุประสงค์การสร้างการค้าที่เป็นธรรมแก่ประเทศสมาชิกที่มีขนาดเศรษฐกิจต่างกัน เกิดการสร้างหลักการ การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential Treatment: SDT) โดยเป็นการผ่อนผันให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีหรือข้อตกลงต่าง ๆ แม้ว่าจะขัดกับหลัก Most Favored Nation (MFN) หรือหลักการปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกันก็ตาม ภายใต้แนวคิดว่า เพื่อช่วยเหลือประเทศดังกล่าว ควรมีการปฏิบัติที่ “เป็นพิเศษ” และ “แตกต่าง” จากข้อกำหนดที่บังคับใช้แก่ประเทศพัฒนาแล้ว
SDT มีการพัฒนาหลักเกณฑ์และเนื้อหาเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 SDT ถูกกำหนดเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้า (WTO Trade Facilitation Agreement: TFA)
หลักการโดยเบื้องต้นของ SDT อาจสรุปได้ดังนี้
การผ่อนผันการปฏิบัติตามพันธกรณีหรือข้อตกลงต่าง ๆ
มาตรการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs เช่น สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP)
ข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ต้องรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs
ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพทางการค้า เช่น การช่วยเหลือเกี่ยวกับการพิพาท และการยกระดับมาตรฐานสินค้า
สิทธิพิเศษต่างหากสำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) เช่น การให้สิทธิการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า หรือการผ่อนผัน การปฏิบัติตามพันธกรณี หรือ ข้อตกลงนานเป็นพิเศษ
ความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกทำให้การปฏิบัติตามพันธกรณีของ ความตกลง TFA อาจสร้างปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดได้ ดังนั้น กลุ่มประเทศเหล่านั้นจึงควรได้รับการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ความตกลง TFA ในส่วนที่ 2 จึงได้บัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
บทบัญญัติดังกล่าวภายใต้ความตกลง TFA ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บทบัญญัติกลุ่มเอ ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติทันทีที่ความตกลง ฯ มีผลบังคับใช้ บทบัญญัติกลุ่มบี ซึ่งสมาชิกจะต้องปฏิบัติภายหลัง พ้นระยะเวลาปรับตัว และบทบัญญัติกลุ่มซี ซึ่งสมาชิกต้องปฏิบัติหลังจากพ้นระยะเวลาปรับตัว และ ได้รับความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ บทบัญญัติในส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนสุดท้ายของความตกลงฯ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยความมสะดวกทางกา รค้า (Committee on Trade Facilitation) เพื่อติดตาม การดำเนินการตามความตกลงฯ ของประเทศสมาชิกทุกประเทศ และคณะกรรมการอำนวยความสะดวกทางการค้าแห่งชาติ (National Committee on Trade Facilitation) ซึ่งจะเป็นผู้ติดตาม และ ประสานงานในการนำบทบัญญัติของความตกลง TFA ไปดำเนินการในแต่ละประเทศสมาชิก
ตัวอย่าง SDT ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การลดมาตรการกัดกันทางการค้า (Trade Barriers) แก่สินค้าเครื่องนุ่งห่มให้กับประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพา การส่งออกสินค้าดังกล่าว เป็นอย่างมาก ประกอบกับมาตรการ GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกา สหสภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้บังคลาเทศ สามารถส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังประเทศดังกล่าวได้มากขึ้น
ตัวอย่าง SDT ที่บังคลาเทศได้รับจากประเทศคู่ค้าต่าง ๆ
SDT ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs อย่างมาก ทำให้มีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น ให้โอกาสประเทศดังกล่าวในการกำหนดเวลาที่จะเริ่มปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ ได้ รวมถึงได้รับ ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและการเจรจาการค้า สร้างความเท่าเทียมให้กับระบบ การค้าโลก
ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาตามนิยามของ WTO เพราะฉะนั้นประเทศไทย จึงได้รับสิทธิพิเศษจำนวนมากจากประเทศสมาชิก WTO โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลักของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยสิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับ ได้แก่ การเปิดตลาด การลดภาษี การอุดหนุนสินค้าเกษตร ซึ่งสำคัญต่อเศรษฐประเทศเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้ประเทศไทย ได้ดุลการค้า กับหลายประเทศ และได้เวลาในการปรับตัวในการปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ นานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมา มีประเทศสมาชิกบางราย มองว่า การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างควรให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่เหมาะสมจะได้รับ มิใช่ให้กับทุกประเทศที่อ้างตนว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการให้ SDT โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ WTO ทำให้สมาชิกบางประเทศเสียดุลการค้ากับหลายประเทศ จึงได้มีการประกาศตัดสิทธิพิเศษที่เคยให้กับบางประเทศ ซึ่งอาจทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าและมีต้นทุนเฉลี่ยในการส่งออกเพิ่มขึ้น
References
Comments